- คำอธิบายรายวิชา
- เนื้อหา
- ความคิดเห็น
คำอธิบายรายวิชาเพิ่มเติม
รายวิชา ว31221 เคมี 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 เวลา 60 ชั่วโมง จำนวน 1.5 หน่วยกิต
ศึกษาข้อปฏิบัติเบื้องต้นในการทำปฏิบัติการเคมี การเลือกใช้อุปกรณ์และเครื่องมือในการทำปฏิบัติการ การระบุหน่วยวัดปริมาณต่าง ๆ ของสาร การเปลี่ยนหน่วยในระบบเอสไอด้วยการใช้แฟกเตอร์เปลี่ยนหน่วย ศึกษาแบบจำลองอะตอม สัญลักษณ์นิวเคลียร์ของธาตุ อนุภาคมูลฐานของอะตอม การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม การจัดเรียงธาตุในตารางธาตุ แนวโน้มสมบัติบางประการของธาตุในตารางธาตุตามหมู่และตามคาบ สมบัติของธาตุโลหะแทรนซิชัน การเปรียบเทียบสมบัติกับธาตุโลหะในกลุ่มธาตุเรพรีเซนเททีฟ ศึกษาและอธิบายสมบัติและคำนวณครึ่งชีวิตของไอโซโทปกัมมันตรังสี ยกตัวอย่างการนำธาตุมาใช้ประโยชน์ รวมทั้งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ศึกษาการเกิดพันธะไอออนิก สูตรและการเรียกชื่อสารประกอบไอออนิก การเปลี่ยนแปลงพลังงานในการเกิดสารประกอบไอออนิก สมบัติของสารประกอบไอออนิก ปฏิกิริยาของสารประกอบไอออนิก ศึกษาการเกิดพันธะและชนิดของพันธะโคเวเลนต์ การเขียนสูตรและเรียกชื่อสารโคเวเลนต์ ความยาวพันธะและพลังงานพันธะในสารโคเวเลนต์ พลังงานที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาของสารโคเว-เลนต์ รูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์ สภาพขั้วของโมเลกุลโคเวเลนต์ แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลโคเวเลนต์ สมบัติของสารโคเวเลนต์โครงร่างตาข่าย ศึกษาการเกิดโลหะและสมบัติของโลหะ
โดยใช้การเรียนรู้ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสืบเสาะหาความรู้ การสำรวจตรวจสอบ สามารถนำความรู้และหลักการไปใช้ประโยชน์ เชื่อมโยง อธิบายปรากฏการณ์ หรือแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน สามารถจัดกระทำและวิเคราะห์ข้อมูล สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มีความสามารถในการตัดสินใจแก้ปัญหา มีจิตวิทยาศาสตร์ เห็นคุณค่าของวิทยาศาสตร์ มีจริยธรรม คุณธรรมและค่านิยมที่เหมาะสม
ผลการเรียนรู้
1.บอกและอธิบายข้อปฏิบัติเบื้องต้น และปฏิบัติตนที่แสดงถึงความตระหนักในการทำปฏิบัติการเคมีเพื่อให้มีความปลอดภัยทั้งต่อตนเอง ผู้อื่น และสิ่งแวดล้อม และเสนอแนวทางแก้ไขเมื่อเกิดอุบัติเหตุ
2.เลือกและใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือในการทำปฏิบัติการ และวัดปริมาณต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
3.นำเสนอแผนการทดลอง ทดลอง และเขียนรายงานการทดลอง
4.ระบุหน่วยวัดปริมาณต่าง ๆ ของสาร และเปลี่ยนหน่วยวัดให้เป็นหน่วยในระบบเอสไอด้วยการใช้แฟกเตอร์เปลี่ยนหน่วย
5.สืบค้นข้อมูลสมมติฐาน การทดลอง หรือผลการทดลองที่เป็นประจักษ์พยานในการเสนอแบบจำลองอะตอมของนักวิทยาศาสตร์ และอธิบายวิวัฒนาการของแบบจำลองอะตอม
6.เขียนสัญลักษณ์นิวเคลียร์ของธาตุ และระบุจำนวนโปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอนของอะตอมจากสัญลักษณ์นิวเคลียร์รวมทั้งบอกความหมายของไอโซโทป
7.อธิบายและเขียนการจัดเรียงอิเล็กตรอนในระดับพลังงานหลัก และระดับพลังงานย่อยเมื่อทราบเลขอะตอมของธาตุ
8.ระบุหมู่ คาบ ความเป็นโลหะ อโลหะ และกึ่งโลหะ ของธาตุเรพรีเซนเททีฟ และธาตุแทรนซิชันในตารางธาตุ
9.วิเคราะห์และบอกแนวโน้มสมบัติของธาตุเรพรีเซนเททีฟตามหมู่และตามคาบ
10.บอกสมบัติของธาตุโลหะแทรนซิชัน และเปรียบเทียบสมบัติกับธาตุโลหะในกลุ่มธาตุเรพรีเซนเททีฟ
11.อธิบายสมบัติและคำนวณครึ่งชีวิตของไอโซโทปกัมมันตรังสี
12.สืบค้นข้อมูลและยกตัวอย่างการนำธาตุมาใช้ประโยชน์ รวมทั้งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
13.อธิบายการเกิดไอออนและการเกิดพันธะไอออนิก โดยใช้แผนภาพ หรือสัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิส
14.เขียนสูตรและเรียกชื่อสารประกอบไอออนิก
15.คำนวณพลังงานที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาการเกิดสารประกอบไอออนิกจากวัฏจักรบอร์น-ฮาเบอร์
16.อธิบายสมบัติของสารประกอบไอออนิก
17.เขียนสมการไอออนิก และสมการไอออนิกสุทธิของปฏิกิริยาของสารประกอบไอออนิก
18.อธิบายการเกิดพันธะโคเวเลนต์แบบพันธะเดี่ยว พันธะคู่ และพันธะสาม ด้วยโครงสร้างลิวอิส
19.เขียนสูตรและเรียกชื่อสารโคเวเลนต์
20.วิเคราะห์และเปรียบเทียบความยาวพันธะ และพลังงานพันธะในสารโคเวเลนต์ รวมทั้งคำนวณพลังงานที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาของสารโคเวเลนต์จากพลังงานพันธะ
21.คาดคะเนรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์โดยใช้ทฤษฎีการผลักระหว่างคู่อิเล็กตรอนในวงเวเลนซ์ และระบุสภาพขั้วของโมเลกุลโคเวเลนต์
22.ระบุชนิดของแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลโคเวเลนต์และเปรียบเทียบจุดหลอมเหลว จุดเดือด และการละลายน้ำของสารโคเวเลนต์
23.สืบค้นข้อมูลและอธิบายสมบัติของสารโคเวเลนต์โครงร่างตาข่ายชนิดต่าง ๆ
24.อธิบายการเกิดพันธะโลหะและสมบัติของโลหะ
25.เปรียบเทียบสมบัติบางประการของสารประกอบไอออนิก สารโคเวเลนต์ และโลหะ สืบค้นข้อมูลและนำเสนอตัวอย่างการใช้ประโยชน์ของสารประกอบไอออนิก สารโคเวเลนต์ และโลหะได้อย่างเหมาะสม
รวม 25 ผลการเรียนรู้
-
1ความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี19.26 นาที
-
2ข้อควรปฏิบัติในการทำปฏิบัติการเคมี15.59 นาที
-
3การกำจัดสารเคมี8.46 นาที
-
4อุบัติเหตุจากสารเคมี20.00 นาที
-
5ความเที่ยงและความแม่นของข้อมูล14.49 นาที
-
6อุปกรณ์วัดปริมาตร19.48 นาที
-
7อุปกรณ์วัดมวล16.56 นาที
-
8เลขนัยสำคัญ21.02 นาที
-
9หน่วยในระบบเอสไอ15.06 นาที
-
10แฟกเตอร์เปลี่ยนหน่วย22.10 นาที
-
11วิธีการทางวิทยาศาสตร์26.08 นาที
-
12แบบจำลองอะตอมของดอลตัน7.46 นาที
-
13แบบจำลองอะตอมของทอมสัน8.31 นาที
-
14แบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด6.44 นาที
-
15แบบจำลองอะตอมของโบร์12.39 นาที
-
16แบบจำลองอะตอมแบบกลุ่มหมอก5.09 นาที
-
17อนุภาคในอะตอม8.49 นาที
-
18เลขอะตอม เลขมวล และไอโซโทป10.46 นาที
-
19จำนวนอิเล็กตรอนในแต่ละระดับพลังงาน5.06 นาที
-
20ระดับพลังงานหลัก และระดับพลังงานย่อย4.55 นาที
-
21ออร์บิทัล8.06 นาที
-
22หลักการจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม12.31 นาที
-
23วิวัฒนาการของการสร้างตารางธาตุ11.48 นาที
-
24กลุ่มของธาตุในตารางธาตุ9.52 นาที
-
25ขนาดอะตอม6.23 นาที
-
26ขนาดไอออน8.30 นาที
-
27พลังงานไอออไนเซชัน8.08 นาที
-
28สัมพรรคภาพอิเล็กตรอน7.05 นาที
-
29อิเล็กโทรเนกาติวิตี5.10 นาที
-
30สมบัติของธาตุแทรนซิชัน9.20 นาที
-
31การเกิดกัมมันตภาพรังสี8.23 นาที
-
32การสลายตัวของไอโซโทปกัมมันตรังสี8.13 นาที
-
33อันตรายจากไอโซโทปกัมมันตรังสี6.11 นาที
-
34ครึ่งชีวิตของไอโซโทปกัมมันตรังสี9.01 นาที
-
35ปฏิกิริยานิวเคลียร์6.35 นาที
-
36เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารกัมมันตรังสี4.38 นาที
-
37การนำธาตุไปใช้ประโยชน์และผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต7.31 นาที
-
38สัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิสและกฎออกเตต19.51 นาที
-
39การเกิดพันธะไอออนิก21.08 นาที
-
40สูตรเคมีของสารประกอบไอออนิก15.23 นาที
-
41ชื่อของสารประกอบไอออนิก16.06 นาที
-
42พลังงานกับการเกิดสารประกอบไอออนิก22.22 นาที
-
43สมบัติของสารประกอบไอออนิก13.30 นาที
-
44สมการไอออนิกและสมการไอออนิกสุทธิ18.05 นาที
-
45การเกิดพันธะโคเวเลนต์20.32 นาที
-
46สูตรโมเลกุลและชื่อของสารโคเวเลนต์14.43 นาที
-
47ความยาวพันธะของสารโคเวเลนต์12.54 นาที
-
48พลังงานพันธะของสารโคเวเลนต์27.13 นาที
-
49รูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์ ตอนที่ 114.50 นาที
-
50รูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์ ตอนที่ 221.28 นาที
-
51สภาพขั้วของโมเลกุลโคเวเลนต์17.47 นาที
-
52แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลและสมบัติของสารโคเวเลนต์18.25 นาที
-
53สารโคเวเลนต์โครงร่างตาข่าย4.01 นาที
-
54การเกิดพันธะโลหะ สมบัติของโลหะ7.14 นาที
-
55การใช้ประโยชน์ของสารประกอบไอออนิก สารโคเวเลนต์ และโลหะ9.07 นาที
