มีคำถามใช่ไหม?
ส่งข้อความแล้ว ปิด
0
0 ความคิดเห็น

ส33101 สังคมศึกษา

  • คำอธิบายรายวิชา
  • เนื้อหา
  • ความคิดเห็น

ศึกษา วิเคราะห์ พุทธประวัติด้านการบริหาร และการธำรงรักษาศาสนา การฝึกฝนและพัฒนาตนเอง การพึ่งตนเอง และการมุ่งอิสรภาพในพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาเป็นศาสตร์แห่งการศึกษาซึ่งเน้นความสัมพันธ์ของเหตุปัจจัยกับวิธีการแก้ปัญหา พระพุทธศาสนาในการฝึกตนไม่ให้ประมาท มุ่งประโยชน์และสันติภาพบุคคล สังคมและโลก ความสำคัญของพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับการศึกษาที่สมบูรณ์ การเมืองและสันติภาพ หลักธรรมในกรอบ อริยสัจ 4 ข้อคิดและแบบอย่าง การดำเนินชีวิตจากประวัติสาวก ชาดก เรื่องเล่า และศาสนิกชนตัวอย่าง ตามที่กำหนดเชื่อมั่นต่อผลของการทำความดี ความชั่ว สามารถวิเคราะห์สถานการณ์ที่ต้องเผชิญ และตัดสินใจเลือกดำเนินการหรือปฏิบัติตนได้อย่างมีเหตุผลถูกต้องตามหลักธรรม จริยธรรม และกำหนดเป้าหมาย บทบาทการดำเนินชีวิตเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และอยู่ร่วมกันเป็นชาติอย่างสมานฉันท์ ประยุกต์ใช้กับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงภายในศูนย์เศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียน การเปลี่ยนแปลงธรรมชาติในโลกว่าเป็นผลมาจากการกระทำของมนุษย์และหรือธรรมชาติ การใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมในการสร้างสรรค์วัฒนธรรม อันเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นทั้งในประเทศไทยและโลก

      โดยใช้การคิดวิเคราะห์ตามหลักการทางพระพุทธศาสนาและหลักการทางวิทยาศาสตร์ โยนิโสมนสิการ หลักอริยสัจ 4 ปฎิบัติตนและมีส่วนสนับสนุนให้ผู้อื่นประพฤติปฏิบัติเพื่อเป็นพลเมืองดีของประเทศชาติ และสังคม ประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาบทบาทขององค์กรระหว่างประเทศ ในเวทีโลกที่มีผลต่อประทศไทย สาระสำคัญของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปัจจุบันเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ปัญหาสิทธิมนุษยชนในประเทศ การเมืองการปกครองที่นำไปสู่ความเข้าใจ และการประสานประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศ การมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ โดยใช้กระบวนคิดอย่างมีวิจารณญาณ การคิดวิเคราะห์ การศึกษาค้นคว้าทางสังคมศาสตร์ กระบวนการให้ความร่วมมือ การอภิปราย การมีส่วนร่วมในสังคม การแสวงหาความรู้เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่โดยใช้ทักษะความสามารถด้านคอมพิวเตอร์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์  กระบวนการทำงานกลุ่มอย่างมีระบบ เพื่อตระหนักถึงความจำเป็นที่ต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยและเลือกรับวัฒนธรรมสากล  มีส่วนร่วมอนุรักษ์วัฒนธรรมอันดีงามของประเทศไทย เสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาและพัฒนาสิทธิมนุษยชนในประเทศ และสามารถบอกแนวทางการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ 

พระพุทธศาสนา
    หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม
      Study@RACHA1
      ภาพรวมความเป็นส่วนตัว

      เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดให้กับคุณ ข้อมูลคุกกี้จะถูกจัดเก็บในเบราว์เซอร์ของคุณและมีหน้าที่ เช่น จดจำคุณเมื่อคุณกลับมาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา และช่วยให้ทีมงานของเราเข้าใจว่า ส่วนใดของเว็บไซต์ที่คุณสนใจและมีประโยชน์มากที่สุด