- คำอธิบายรายวิชา
- เนื้อหา
- ความคิดเห็น
คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน
รายวิชา ท33101 ภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 เวลา 40 ชั่วโมง จำนวน 1.0 หน่วยกิต
ศึกษาการอ่านออกเสียงร้อยแก้ว ร้อยกรอง อ่านงานเขียนประเภทต่าง ๆ อ่านตีความ แปลความ ขยายความ วิเคราะห์ วิจารณ์ ประเมินค่า แสดงความคิดเห็นโต้แย้ง เขียนกรอบแนวคิด ผังความคิด เขียนสื่อความในรูปแบบต่าง ๆ การอธิบาย บรรยาย พรรณนา การประเมินคุณค่างานเขียน รายงานการค้นคว้า ใช้ข้อมูลสารสนเทศอ้างอิง เลือกฟังและดู อย่างมีวิจารณญาณ พูดแสดงทรรศนะ โน้มน้าวใจ ธรรมชาติของภาษา ลักษณะภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษา ระดับภาษา ราชาศัพท์ อิทธิพลภาษาต่างประเทศ หลักการวิเคราะห์ วิจารณ์วรรณคดี วรรณกรรม ตามหลักการวิจารณ์เบื้องต้น รู้และเข้าใจลักษณะเด่นของวรรณคดี ภูมิปัญญาทางภาษา วรรณกรรมพื้นบ้าน เชื่อมโยงกับการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์และวิถีไทย ประเมินคุณค่าด้านวรรณศิลป์ นำข้อคิดจากวรรณคดีและวรรณกรรมไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
ใช้กระบวนการอ่าน การเขียน ทักษะการฟังและดู การพูด และกระบวนการคิด ในการอ่านออกเสียงร้อยแก้ว ร้อยกรอง ตีความ แปลความ ขยายความ วิเคราะห์ วิจารณ์ ประเมินค่า แสดงความคิดเห็นโต้แย้ง มีมารยาทในการสื่อสาร เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด สามารถสื่อสารด้วยภาษาที่ถูกต้องเหมาะสม นำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต เห็นคุณค่าและรักษาภาษาไทย วรรณคดี วรรณกรรมไทย ไว้เป็นสมบัติและมรดกทางวัฒนธรรม นำความรู้ หลักการปฏิบัติตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
รหัสตัวชี้วัด ท 1.1 ม.4-6/1 ม.4-6/2 ม.4-6/4 ม.4-6/6 ม.4-6/7 ม.4-6/8 ม.4-6/9
ท 2.2 ม.4-6/1 ม.4-6/5
ท 3.3 ม.4-6/1 ม.4-6/2 ม.4-6/3
ท 4.4 ม.4-6/1 ม.4-6/2
ท 5.5 ม.4-6/1 ม.4-6/2 ม.4-6/3 ม.4-6/4 ม.4-6/5 ม.4-6/6
-
3หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 กาพย์เห่เรือบทเรียน
กาพย์เห่เรือ เป็นพระนิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรหรือเจ้าฟ้ากุ้ง ในสมัยกรุงศรีอยุธยา บทเห่แต่ละตอนแต่งเป็นโคลงสี่สุภาพ 1 บทและกาพย์ยานี 11 ไม่จำกัดจำนวนบท ประกอบด้วยบทเห่ดังนี้ ชมเรือ ชมปลา ชมไม้ ชมนก และเห่ครวญ การที่นักเรียนได้ศึกษาวรรณคดีกาพย์เห่เรือจะทำให้นักเรียนได้เรียนรู้การอ่านบทร้อยกรองทำนองเห่ ความงดงามของกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค ซึ่งสะท้อนให้เห็นวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของผู้คนในสังคม เพื่อให้นักเรียนเข้าใจในวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามของไทย ตลอดจนนำไปสู่การนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม
-
4แบบฝึกหัดเรื่องกาพย์เห่เรืองานที่มอบหมาย
-
5หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 สามก๊ก ตอนกวนอูไปรับราชการกับโจโฉบทเรียน
สามก๊ก เป็นวรรณกรรมอิงประวัติศาสตร์ ที่ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรให้เป็นยอดของความเรียงนิทาน ซึ่งเป็นสามก๊กฉบับแปลของเจ้าพระยาพระคลัง (หน) กวีในสมัยรัชกาลที่ ๑ โดยสามก๊ก ตอน กวนอูไปรับราชการกับโจโฉ นี้ได้เล่าถึงเหตุการณ์ที่โจโฉยกทัพไปตีเมืองของเล่าปี่ และเมืองของกวนอู จนทำให้เล่าปี่ต้องหลบหนีไป ทำให้กวนอูรับหน้าที่ดูแลภรรยาของเล่าปี่ และต้องไปอยู่กับโจโฉด้วยการเกลี้ยกล่อมของเตียวเลี้ยว ซึ่งโจโฉก็ได้พยายามทุกวิถีทางให้กวนอูมาเป็นพวกของตน เป็นตอนที่แสดงให้ถึงความซื่อสัตย์ของกวนอูที่มาต่อเล่าปี่ เมื่อผู้เรียนได้ศึกษาเรื่องนี้แล้วจะได้รับข้อคิดจากการอ่าน คือ ตัวอย่างความซื่อสัตย์และความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ นอกจากนี้ยังได้เห็นการใช้ภาษาในการเรียบเรียงของผู้แต่งถึงแม้จะเป็นภาษาโบราณ แต่ก็เข้าใจได้ง่าย ทั้งยังได้ทราบวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์จีนอีกด้วย
-
6แบบฝึกหัดเรื่อง สามก๊ก ตอนกวนอูไปรับราชการกับโจโฉงานที่มอบหมาย
-
9หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ไตรภูมิพระร่วง ตอนมนุสภูมิบทเรียน
ไตรภูมิพระร่วงเป็นวรรณคดีพุทธศาสนาที่แต่งในสมัยสุโขทัย แต่เนื้อหาถือว่าก้าวล้ำเกินวิทยาการในยุคนั้นไปมาก อย่างเช่นการอธิบายถึงการเกิดมนุษย์ในตอนที่ถูกยกมาเป็นแบบเรียนภาษาไทย ทำให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างความเชื่อของศาสนากับวิทยาศาสตร์ ถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องราวที่น่าสนใจและน่าศึกษา
-
10ใบงาน เรื่อง ไตรภูมิพระร่วง ตอนมนุสภูมิงานที่มอบหมาย
-
11หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ระดับภาษาบทเรียน
ระดับภาษา คือ ความแตกต่างของภาษา ทั้งภาษาพูด ภาษาเขียน และ ภาษาท่าทาง ซึ่งควรใช้ให้เหมาะสมกับฐานะของบุคคลและกาลเทศะในการสื่อสาร ราชาศัพท์ซึ่งได้แก่ ระเบียบการใช้ถ้อยค าให้เหมาะแก่ชั้นของบุคคล ก็เป็นเรื่อง เกี่ยวกับระดับภาษาด้วย
-
12แบบฝึกหัดเรื่อง ระดับภาษางานที่มอบหมาย
