เนื้อหา
รายวิชา: ท20201 ห้องสมุด 1
Login

Curriculum

ท20201 ห้องสมุด 1

2.ระเบียบและมารยาทการใช้ห้องสมุด

0/1

3.ทรัพยากรสารสนเทศ

0/1
บทเรียน

ทรัพยากรสารสนเทศ

ใบความรู้ลาดับที่ 3

เรื่อง ทรัพยากรสารสนเทศ

รายวิชา ท 20201 ห้องสมุด 1 ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1

*************************************************************************************

ผลการเรียนรู้ 

1. อธิบายความหมายและประโยชน์ของทรัพยากรสารสนเทศได้

2. บอกประโยชน์และใช้ทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่าง ๆ ได้

-วัสดุตีพิมพ์ เช่น หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ และจุลสาร ฯลฯ

-วัสดุไม่ตีพิมพ์ เช่น รูปภาพ แผนที่ ลูกโลก โทรทัศน์ ฯลฯ

-วัสดุอิเลกทรอนิกส์ เช่น CD ROM, CAIฯลฯอธิบายความหมายและบอกลักษณะของทรัพยากรสารสนเทศได้

3. จาแนกประเภทของทรัพยากรสารสนเทศได้

*****************************************************************************************************

ความหมายของทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุด

คาว่า ทรัพยากรสารสนเทศ นั้น มาจากคาว่า ทรัพยากรสารนิเทศ ประกอบด้วย คา 2 คา คือ ทรัพยากรและสารนิเทศ ซึ่งหมายถึง ข้อมูล ข่าวสาร ข้อความที่ให้ความรู้ที่มีค่า ที่มีประโยชน์ต่อการเสริมสร้างสติปัญญา อารมณ์และจิตใจของมนุษย์ และถูกจัดเก็บรวบรวมไว้ในห้องสมุด โดยมีการบันทึกลงในวัสดุทั้งชนิดวัสดุตีพิมพ์ วัสดุไม่ตีพิมพ์และวัสดุอิเล็กทรอนิกส์

ทรัพยากรสารนิเทศ หมายถึง วัสดุเพื่อการศึกษาที่ห้องสมุดได้รวบรวมไว้ด้วยการจัดหา จัดเก็บ เพื่อให้ผู้ใช้ได้อ่านและศึกษาค้นคว้าตามความต้องการ วัสดุเหล่านี้มีการบันทึกสารนิเทศ อยู่ในรูปกระดาษ ฟิล์ม และนาเสนอโดยใช้ภาษา ภาพสัญลักษณ์ และเสียง

ประเภทของทรัพยากรสารนิเทศห้องสมุด

ทรัพยากรสารนิเทศห้องสมุด แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1. วัสดุตีพิมพ์ (Printed Materials) แบ่งออกเป็น

หนังสือ (Book) วารสาร นิตยสาร และหนังสือพิมพ์ จุลสาร (Phamplet) กฤตภาค (Clipping)

2. วัสดุไม่ตีพิมพ์ (Nonprint Materials) แบ่งออกเป็น

โสตทัศนวัสดุ (Audio Visual Materials) วัสดุย่อส่วน (Microforms) วัสดุอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Materrials)

1. วัสดุตีพิมพ์ (Printed Materials) หมายถึง ทรัพยากรสารนิเทศที่บันทึกความรู้ที่มีเนื้อหา

สาระเพื่อประโยชน์ในการศึกษา ค้นคว้า อ้างอิง หรือเพื่อความบันเทิง โดยจัดพิมพ์ข้อมูลสารนิเทศเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นรูปเล่มหนังสือหรือรูปเล่มอื่น ๆ ที่ให้คุณค่าและสาระความบันเทิง ซึ่งประกอบด้วย

หนังสือ (Book) หมายถึง ทรัพยากรสารนิเทศที่ตีพิมพ์เป็นตัวอักษร อธิบาย เรื่องราว เหตุการณ์ วิชาความรู้ต่าง ๆ แบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้

1) หนังสือสารคดี (Non – Ficton Books) ประกอบด้วย

(1) หนังสือตาราวิชาการหรือแบบเรียน (Textbooks) เป็นหนังสือที่ใช้สาหรับ

ประกอบการเรียนการสอน ตามรายละเอียดเนื้อหาวิชาที่กาหนดไว้ในหลักสูตร

(2) หนังสืออ่านประกอบ (External Readings) เป็นหนังสือที่ใช้อ่านประกอบใน

รายวิชาต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ที่กว้างขวางขึ้น

(3) หนังสือความรู้ทั่วไป (General Readings) เป็นหนังสือที่นาเสนอเรื่องทั่ว ๆ ไป

เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง สาหรับผู้ที่สนใจอ่านเพื่อศึกษาหาความรู้

(4) หนังสืออ้างอิง (Reference Books) เป็นหนังสือที่เขียนโดยผู้ทรงคุณวุฒิสาขาใด

สาขาหนึ่ง เพื่อให้ผู้ใช้ได้ศึกษาค้นคว้าหาคาตอบที่ต้องการโดยไม่จาเป็นต้องอ่านทั้งเล่มหรือทั้งชุด เช่น หนังสือสารานุกรม พจนานุกรม หนังสือรายปี เป็นต้น

(5) ปริญญานิพนธ์หรือวิทยานิพนธ์ (Thesis or dissertations) เป็นหนังสือสาขาวิชา

ต่าง ๆ ที่นิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา(ปริญญาโทขึ้นไป) เรียบเรียงขึ้นเพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร

(6) หนังสือคู่มือครู หลักสูตร โครงการสอน คู่มือสถาบันการศึกษา เป็นหนังสือที่

จัดทาขึ้นเฉพาะ จะจัดแยกจากหนังสือประเภทอื่น ๆ

2) หนังสือบันเทิงคดี (Fictions) เป็นหนังสือที่เขียนขึ้นเพื่อให้ความบันเทิงแก่ผู้อ่าน ซึ่งอาจจะ

สอดแทรกความรู้และข้อคิดต่าง ๆ ไว้ด้วย หนังสือประเภทนี้ผู้เขียน เขียนขึ้นจากแนวคิด ประสบการณ์ ตลอดจนจินตนาการของตนเอง แบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้

(1) หนังสือนวนิยาย (Fiction) เป็นหนังสือที่มีกลวิธีในการดาเนินเรื่องที่น่าสนใจ จะ

ผูกเป็นเรื่องราวอย่างต่อเนื่อง เนื้อเรื่องจะยาวจึงแบ่งออกเป็นตอน ๆ บางเรื่องอาจมีหลายเล่มจบหรือหลายภาค

(2) หนังสือเรื่องสั้น (Short Story) เป็นหนังสือที่จะมีลักษณะคล้ายกับนวนิยาย แล

จะมีเนื้อเรื่องสั้น ๆ ตัวละครไม่มาก มีจุดสาคัญ(ไคแม็กซ์) เพียงจุดเดียว หนังสือเรื่องสั้นส่วนมากจะรวมหลายเรื่องไว้ด้วยกัน เรียกว่ารวมเรื่องสั้น (Short StoryCollection)

(3) หนังสือสาหรับเด็กและเยาวชน (Easy Books) เป็นหนังสือที่เขียนขึ้นสาหรับเด็ก

และเยาวชน ใช้ภาษาง่าย ๆ อาจสอดแทรกข้อคิด หรือคาสั่งสอนต่าง ๆ ส่วนมากจะเป็นแนวคิด หรือจินตนาการที่เหนือธรรมชาติ

วารสาร นิตยสาร และหนังสือพิมพ์ เป็นประเภทสิ่งพิมพ์ต่อเนื่องที่มีกาหนดออกตามวาระที่แน่นอน เช่น รายวัน รายสัปดาห์ รายปักษ์ เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อนาเสนอข่าวสาร ความรู้ที่ทันสมัย หรือความเคลื่อนไหวใหม่ ๆ สิ่งพิมพ์ประเภทนี้ประกอบด้วย

1. วารสาร (Periodicals or Journals) มีกาหนดออกตามวาระที่แน่นอนเป็นสิ่งพิมพ์ที่มีรายละเอียดเนื้อหา เน้นหนักทางด้านวิชาการ และสาระความรู้ต่าง ๆ

2. นิตยสาร (Magazines) เป็นสิ่งพิมพ์ ที่มีเนื้อหามุ่งเน้นทางด้านบันเทิง และประเภทเกร็ดความรู้

3. หนังสือพิมพ์ (Newspapers) เป็นสิ่งพิมพ์ที่มีกาหนดออกที่แน่นอนและออกต่อเนื่องไป มุ่งเน้นในการนาเสนอข่าวสาร ความเคลื่อนไหวของเหตุการณ์ต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว หนังสือพิมพ์นอกจากจะนาเสนอข่าวต่าง ๆ แล้ว ยังนาเสนอบทความ บทวิเคราะห์วิจารณ์ และสาระความรู้ ความบันเทิงที่ทันสมัยอีกด้วย ลักษณะเฉพาะของหนังสือพิมพ์จะไม่มีการเย็บเล่มเหมือนหนังสือหรือวารสาร

จุลสาร (Pamphlets) เป็นสิ่งพิมพ์ที่รูปเล่มกะทัดรัด ส่วนใหญ่จะมีความหนาไม่เกิน 60 หน้า จัดพิมพ์ขึ้นโดยหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อมุ่งเสนอความรู้เฉพาะสาขาวิชาต่าง ๆ

กฤตภาค (Clippings) เป็นสิ่งพิมพ์ที่ห้องสมุดเป็นผู้ผลิตขึ้น โดยนาสาระสาคัญที่ตัดจากหนังสือพิมพ์ หรือสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ แล้วนามาผนึกบนกระดาษโดยระบุแหล่งที่มาของสารนั้น แล้วจัดเก็บรวบรวมไว้ที่แฟ้ม หรือวัสดุอื่น ๆ ที่เหมาะสมแก่การจัดเก็บ และการใช้บริการ

2. วัสดุไม่ตีพิมพ์ (Nonprint Materials) หมายถึง ทรัพยากรสารนิเทศประเภทโสตทัศนวัสดุ

สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ใช้บันทึกความรู้ ข่าวสารในรูปแบบต่าง ๆ ที่นอกเหนือไปจากสิ่งพิมพ์ บางครั้งต้องใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ชนิดต่าง ๆ ช่วยในการเรียกข้อมูลที่บันทึกไว้ในสื่อนั้น ๆ วัสดุประเภทนี้ ประกอบด้วย

โสตทัศนวัสดุ (Audio Visual Materials) เป็นสื่อที่ให้ข้อมูล ความรู้ ข่าวสาร แก่ผู้ใช้โดยผ่านประสาทสัมผัสทางหู ทางตา ได้แก่

1) แผ่นเสียง (Phonodiscs) และเทปบันทึกเสียง (Phonotapes) วัสดุที่ให้

ความรู้ ข่าวสาร และความบันเทิงต่าง ๆ ในรูปของเสียง เช่น บทเพลง สุนทรพจน์ ปาฐกถา คาบรรยายเนื้อหารายวิชาต่าง ๆ เป็นต้น

2) ภาพยนตร์ (Motion pictures or Films) เป็นสื่อที่ให้ความรู้ข่าวสาร

ตลอดจนความบันเทิง ทั้งภาพและเสียงทาให้การเสนอเรื่องราวน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

3) เทปวีดีทัศน์และแผ่นวีดีทัศน์ (Videotapes and videodises) เป็นสื่อที่

ให้ความรู้ และความบันเทิง โดยใช้ภาพและเสียง

4) รูปภาพ (pictures) เป็นการนาเสนอข้อมูลเพื่อให้เข้าใจเรื่องราวต่าง ๆ

ชัดเจนยิ่งขึ้นโดยใช้รูปภาพ ซึ่งอาจเป็นภาพวาด ภาพเขียน ภาพถ่ายหรือภาพพิมพ์ก็ได้

5) แผนที่และลูกโลก (Maps and Globes) เป็นวัสดุสารสนเทศที่นาเสนอ

ข้อมูลความรู้โดยการแสดงเขตพื้นที่หรือพื้นผิวโลกในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านกายภาพ การปกครอง เศรษฐกิจ เป็นต้น

6) ภาพเลื่อนและภาพนิ่ง (Filmstrips and Slides) เป็นสื่อที่นาเสนอ

ข้อมูลประเภทภาพโปร่งแสงถ่ายบนฟิล์ม ลักษณะของภาพนิ่งจะปรากฏทีละภาพ ส่วนมากภาพเลื่อนจะเป็นภาพต่อเนื่อง

7) แผนภูมิ (Charts) เป็นสื่อที่นาเสนอข้อมูลประเภทสัญลักษณ์ ตัวเลข

ตัวหนังสือและลายเส้น ที่แสดงความสัมพันธ์เชื่อมโยงของเรื่องต่าง ๆ แผนภูมิมีหลายประเภท ได้แก่ แผนภูมิภาพ แผนภูมิตาราง แผนภูมิแท่งฯลฯ

8) แผ่นโปร่งใส (Transparencies) เป็นสื่อที่นาเสนอข้อมูลลงบนแผ่น

พลาสติกใส เวลาใช้จะต้องใช้ประกอบกับเครื่องฉายภาพข้ามศรีษะ (Overhead Projectors)

9) หุ่นจาลอง (Models) เป็นวัสดุที่ทาขึ้นแทนของจริง อาจมีขนาดเท่า

เดิมหรือย่อให้มีขนาดเล็กลงหรือขยายใหญ่กว่าของจริงก็ได้

10) ของจริงและของตัวอย่าง (Reals and Specimens) เป็นสื่อนาเสนอ

ข้อมูลตามสภาพจริง หรือตามธรรมชาติของสิ่งนั้น ๆ สาหรับของตัวอย่าง หมายถึง การนาของจริงมาเป็นเพียงตัวอย่าง เช่น แสตมป์ เหรียญโบราณ แมลงต่าง ๆ เป็นต้น

วัสดุย่อส่วน (Microforms) วัสดุย่อส่วนเป็นวัสดุที่จัดเก็บข้อมูลโดยถ่ายภาพสิ่งพิมพ์ ต้นฉบับย่อส่วนให้มีขนาดเล็ก เพราะจะทาให้สามารถจัดเก็บได้มาก แต่เมื่อจะใช้ข้อมูลจะต้องใช้เครื่องอ่านประกอบ วัสดุย่อส่วนแบ่งออกได้ ดังนี้

1) ไมโครฟิล์ม ( Microfilms ) เป็นการถ่ายความรู้ ข่าวสารจากเอกสาร สิ่งพิมพ์ลง

บนฟิล์มขนาด 16 มม. หรือ 35 มม. แล้วเก็บรวบรวมม้วนฟิล์มไว้เมื่อจะใช้จะต้องอ่านด้วยเครื่องอ่านไมโครฟิล์ม

2) ไมโครฟิช ( Microfiches ) เป็นการถ่ายความรู้ ข่าวสารจากเอกสาร สิ่งพิมพ์ลง

บนฟิล์มโปร่งแสงขนาด 3 X 5 นิ้ว 4 X 6 นิ้ว 5 X 8 นิ้ว แล้วอ่านด้วยเครื่องไมโครฟิช

วัสดุอิเลกทรอนิกส์ (Electronic Materrials) เป็นวัสดุที่จัดเก็บสารสนเทศในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ ต้องมีเครื่องแปลงสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์เป็นสัญญาณภาพและเสียง วัสดุประเภทนี้ ได้แก่

1) ซีดีรอม ( CD-ROM = Compact Dise Read Only Memory) อ่านข้อมูลได้เพียง

อย่างเดียว ไม่สามารถบันทึกหรือลบข้อมูลได้

2) แผ่นวีดีทัศน์ระบบดิจิตอล (DVD = Digtal Versatile dise) บรรจุข้อมูลได้มากกว่า

CD-ROM 25 เท่า ผู้ใช้ไม่สามารถบันทึกหรือลบสัญญาณภาพและเสียงได้

3) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic books หรือ E-books) เป็นการบันทึกหนังสือ

ในรูปสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สืบค้นข้อมูลจากคอมพิวเตอร์

4) วารสารอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic journals หรือ E – journals) เป็นการ

บันทึกข้อมูลวารสารในรูปสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สืบค้นข้อมูลจากคอมพิวเตอร์

5) หนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic newspapers หรือ E – newspapers )

เป็นการบันทึกข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ลงในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สืบค้นข้อมูลจากคอมพิวเตอร์

6) ฐานข้อมูล (Database) เป็นแหล่งรวบรวมสารนิเทศชนิดต่าง ๆ มีวิธีการจัดเก็บและ

สืบค้นอย่างมีระบบ ด้วยสื่อชนิดต่าง ๆ เช่น ฐานข้อมูลทรัพยากรสารนิเทศ ห้องสมุดโรงเรียนบางปะอิน “ราชานุเคราะห์ ๑”

Study@RACHA1
ภาพรวมความเป็นส่วนตัว

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดให้กับคุณ ข้อมูลคุกกี้จะถูกจัดเก็บในเบราว์เซอร์ของคุณและมีหน้าที่ เช่น จดจำคุณเมื่อคุณกลับมาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา และช่วยให้ทีมงานของเราเข้าใจว่า ส่วนใดของเว็บไซต์ที่คุณสนใจและมีประโยชน์มากที่สุด