เนื้อหา
รายวิชา: ภาษาไทย 5 รหัสวิชา ท23101
Login

Curriculum

ภาษาไทย 5 รหัสวิชา ท23101

หน่วยที่ 1 บทละครพูดเห็นแก่ลูก

0/1

0/0

หน่วยที่ 2 นิทานคำกลอน พระอภัยมณี

0/1

หน่วยที่ 3 พระบรมราโชวาท

0/1

0/0

หน่วยที่ 4 ภาษาเลอค่าภาษาไทย

0/1

หน่วยที่ 5 ชวนพินิจโฆษณา

0/1

หน่วยที่ 6 ศึกษาการย่อความ

0/1

หน่วยที่ 7 ความจำเป็นของจดหมาย

0/1
บทเรียน

บทละครพูดเห็นแก่ลูก

  ภาษาในวรรณคดี คือ ศิลปะการประพันธ์ที่ปรากฏในวรรณคดีไทย ได้แก่ โวหารภาพพจน์ คือ กลวิธีการนาเสนอสารโดยการพลิกแพลงภาษาที่ใช้พูด หรือเขียนให้แปลกออกไปจากภาษาตามตัวอักษรทำให้ผู้อ่านเกิดภาพในใจ เป็นการเปรียบเทียบให้เห็นภาพอย่างชัดเจน และรสวรรณคดี คือ รสของความไพเราะในการใช้ถ้อยคำให้เกิดความงดงามและเกิดอารมณ์แบ่งเป็น 4 รส การใช้ภาษาในวรรณคดีเช่นนี้จะทำให้วรรณคดีมีคุณค่าด้านวรรณศิลป์ทำให้ผู้อ่านเกิดจินตภาพได้ดี

  การอ่านออกเสียงร้อยแก้วเป็นการอ่านออกเสียงเพื่อรับสารจากเรื่องที่อ่านโดยมีหลักการอ่าน ได้แก่ศึกษาเรื่องที่อ่านให้เข้าใจอ่านคำในภาษาไทยให้ถูกต้องตามอักขรวิธีอ่านด้วยน้ำเสียงที่เป็นธรรมชาติอ่านเว้นวรรคตอนให้ถูกต้องมีลีลาและอารมณ์ตามเนื้อเรื่องที่อ่าน อ่านเครื่องหมายวรรคตอนให้ถูกต้องและการเรียนรู้เรื่องมารยาทในการอ่านความเหมาะสม

  วรรณคดีเรื่องเห็นแก่ลูกถือว่ามีความสำคัญ เนื่องจากเป็นวรรณคดีที่แฝงไปด้วยข้อคิด และมีภาษาในการดำเนินเรื่องอย่างคมคาย รวมทั้งสำนวน เนื้อเรื่อง และแนวคิดที่แฝงอยู่ในเนื้อเรื่อง พร้อมกับวิเคราะห์

คุณค่าที่ปรากฏในเนื้อเรื่องด้านต่างๆ นักเรียนจึงจำเป็นต้องศึกษาและสรุปเนื้อหาวรรณคดีให้เกิดความรู้ความเข้าใจ เพื่อจะได้นำความรู้และข้อคิดจากเรื่องที่อ่านไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและต่อผู้อื่น

  การศึกษาเรื่องการใช้คำในภาษาไทย จะช่วยให้จำแนกและใช้คำภาษาต่างประเทศที่ใช้ในภาษาไทย ใช้คำทับศัพท์และศัพท์บัญญัติได้อย่างถูกต้อง และสามารถอธิบายความหมายของคำศัพท์ทางวิชาการและวิชาชีพ

 

Study@RACHA1
ภาพรวมความเป็นส่วนตัว

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดให้กับคุณ ข้อมูลคุกกี้จะถูกจัดเก็บในเบราว์เซอร์ของคุณและมีหน้าที่ เช่น จดจำคุณเมื่อคุณกลับมาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา และช่วยให้ทีมงานของเราเข้าใจว่า ส่วนใดของเว็บไซต์ที่คุณสนใจและมีประโยชน์มากที่สุด