เนื้อหา
รายวิชา: ท32102 ภาษาไทย 4
Login
บทเรียน

ธรรมชาติของภาษา

ธรรมชาติของภาษา

ภาษาคือการสื่อสารระหว่างสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าคนหรือสัตว์ เมื่อรวมกันเป็นกลุ่ม ย่อมมีการสื่อสารระหว่างกัน เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ เช่นการเรียนการสอน เพื่อบ่งบอกความรู้สึก เช่นการโอบกอด เพื่อให้สัญญาณ เช่นการบินวนของฝูงผึ้ง

อาจอยู่ในรูปใดก็ได้ ไม่ว่าจะเป็น วัจนภาษาหรืออวัจนภาษา (ภาษาที่ไม่ใช้ถ้อยคำ) อาจอยู่ในรูปของเสียงคือการพูด หรืออยู่ในรูปของถ้อยคำในการขีดเขียน ซึ่งมนุษย์น่าจะเป็นสัตว์ประเภทเดียวที่สามารถประดิษฐ์คำเพื่อแทนเสียงพูดได้

1. ภาษาใช้เสียงสื่อความหมาย

     1.1 เสียงสัมพันธ์กับความหมาย เลียนเสียงธรรมชาติ เดาความหมายได้ เช่น แมว ตุ๊กแก รถตุ๊กตุ๊ก
     1.2 เสียงไม่สัมพันธ์กับความหมาย คนกำหนดความหมายขึ้น เช่น บ้าน ลิง มด

2. ภาษาประกอบด้วยหน่วยเล็กซึ่งประกอบกันเป็นหน่วยใหญ่ขึ้น คือ เสียง –> คำ –> กลุ่มคำหรือประโยค –> เรื่องราว สามารถขยายได้เรื่อยๆ ไม่จำกัด

3. ภาษามีการเปลี่ยนแปลง

ภาษาเปลี่ยนแปลงเนื่องจากการพูดในชีวิตประจำวัน (กลืนเสียง/กร่อนเสียง) อิทธิพลของภาษาอื่น (ยืมคำ/เลียนแบบสำนวนหรือประโยค) การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยีต่างๆ ทำให้เกิดสิ่งใหม่ขึ้น ส่งผลให้คำเก่าที่เคยใช้ถูกแทนที่ด้วยคำใหม่ และการเลียนภาษาของเด็ก

4. ภาษามีลักษณะเฉพาะที่ต่างและเหมือนกัน

     4.1 ลักษณะเฉพาะที่ต่างกันของแต่ละภาษา ได้แก่ เสียง ชนิดของคำ และไวยากรณ์
     4.2 ลักษณะเฉพาะที่เหมือนกันในแต่ละภาษา เช่น เสียงสื่อความหมาย มีวิธีสร้างคำหลากหลาย มีสำนวนสุภาษิต มีคำชนิดต่างๆ ขยายประโยคได้เรื่อยๆ มีวิธีแสดงความคิดคล้ายกัน และมีการเปลี่ยนแปลง