เนื้อหา
รายวิชา: ท32102 ภาษาไทย 4
Login
บทเรียน

การสร้างคำ

คำประสม

คำประสมสร้างจากคำมูล ที่มีความหมายต่างกัน มารวมกันตั้งแต่ 2 คำขึ้นไป แล้วมีความหมายใหม่ แต่ก็ต้องมีความหมายใกล้เคียงกับคำมูลเดิมคำใดคำหนึ่ง ที่นำมาประสมกัน หรือมีความหมายไปในเชิงเปรียบเทียบ

เช่น “แม่ทัพ” คำว่า “แม่” หมายถึง “มารดา” มีความหมายต่างจากคำว่า “ทัพ” ที่หมายถึง “กองกำลังทหาร” แต่เมื่อรวมกัน จะหมายถึง ผู้ออกคำสั่ง หรือหัวหน้าสูงสุดของกองทหาร ซึ่งเป็นความหมายใหม่ แต่ก็มีความเกี่ยวข้องกับความหมายของคำมูลเดิม คือ เป็นเรื่องของการทหาร และหมายถึงตัวผู้มีอำนาจสูงสุด ผู้เป็นใหญ่ในกองทหาร ซึ่งเปรียบเหมือน “แม่” ที่เป็นใหญ่ในบ้าน

ตัวอย่างคำประสมอื่นๆ ก็เช่น แม่บ้าน พ่อครัว รถบรรทุก ปลาเสือ ละครลิง น้ำปลา ผงซักฟอก เป็นต้น

คำซ้อน

เกิดจากการเอาคำที่มีความหมายเหมือนกัน คล้ายกัน หรือตรงข้ามกัน มารวมกันเป็นคำใหม่ เพื่อให้มีความหมายชัดเจนมากขึ้น หนักแน่นมากขึ้น ให้รายละเอียดมากขึ้น เช่น เสียดสี เกียจคร้าน รุ่งเรือง มุ่งหมาย ผลัดเปลี่ยน

โดยคำซ้อนมีลักษณะเฉพาะที่สำคัญคือ

1.) คำซ้อนมีลักษณะคล้ายคำประสม คือ คำซ้อนมาจากคำในภาษาใดก็ได้ เป็นคำชนิดใดก็ได้ ไม่ว่าจะเป็น คำนาม สรรพนาม กริยา วิเศษณ์ 2 คำขึ้นไปมาประสมกัน โดยจะแตกต่างจากคำประสมตรงที่ คำซ้อนจะมาจากคำมูลที่มีความหมายคล้ายกัน หรือเกี่ยวข้องในเรื่องเดียวกัน โดยเป็นไปในทางเดียวกัน หรือทางตรงกันข้ามก็ได้

2.) ความหมายของคำซ้อนจะอยู่ในคำมูลคำใดคำหนึ่งเพียงคำเดียว ส่วนคำประสมความหมายจะเป็นความหมายใหม่ต่างจากคำมูลเดิม

คำซ้ำ

คำซ้ำมีรูปแบบคล้ายกับคำซ้อน คือ เป็นคำที่เกิดจากคำมูลตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปมาประสมกัน แต่คำมูลที่นำมาประสมกันนั้น ต้องเป็นคำเดียวกัน จึงจะเกิดเป็นคำซ้ำ โดยคำที่เกิดขึ้นใหม่ จะมีความหมายคล้ายเดิม แต่เน้นน้ำหนักของความหมาย ให้หนักขึ้น หรือเบาลง หรืออาจเปลี่ยนความหมายเป็นอย่างอื่นก็ได้

คำซ้ำมีลักษณะเฉพาะที่สำคัญคือ

 

1.) เป็นคำประเภทใดก็ได้เช่น คำนาม สรรพนาม กริยา วิเศษณ์
2.) นำคำหนึ่งคำมาซ้ำกันสองครั้ง เช่น “ร้อนๆ” “หนาวๆ” “เด็กๆ” “เล่นๆ”
3.) น้ำคำซ้อนมาแยกเป็นคำซ้ำสองคำ เช่น “ลูบคลำ” เป็น “ลูบๆ คลำๆ” “ดีชั่ว” เป็น “ดีๆ ชั่วๆ” “เงินทอง” เป็น “เงินๆ ทองๆ”
4.) น้ำคำซ้ำมาประสมกัน เช่น “งูๆ ปลาๆ” “ไปๆ มาๆ” “ลมๆ แล้งๆ”

สื่อ/เอกสารประกอบการสอน