ประวัติกรีฑา ความเป็นมาของกรีฑานั้นเป็นที่เชื่อกันว่าชาวกรีกสมัยโบราณเป็นผู้ริเริ่มการแข่งขันกีฬาและกรีฑาเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 776 ปีก่อนคริสตกาล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมพลเมืองของกรีกให้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ พร้อมที่จะรับใช้ประเทศชาติได้อย่างเต็มที่ อีกเหตุผลหนึ่งคือชาวกรีกในสมัยโบราณนับถือเทพเจ้าอยู่หลายองค์ และเชื่อว่ามีเทพเจ้าสถิตอยู่บนเขาโอลิมปัสเทพ เจ้าทั้งหลายเป็นผู้บันดาลความสุขหรือความทุกข์ให้แก่ผู้นับถือคล้ายกับเป็นผู้ชี้ชะตาของ ชาวกรีก ดังนั้นชาวกรีกจึงพยายามที่จะประพฤติตนให้เป็นที่โปรดปราน ทำความเข้าใจและสนิทสนมกับเทพเจ้า เป็นเหตุให้มีพิธีบวงสรวงหรือทำพิธีกรรม ต่าง ๆ เมื่อเสร็จการบวงสรวงตามพิธีทางศาสนาแล้วจะต้องมีการเล่นกีฬาถวาย ณ ลานเชิงเขาโอลิมปัสแค้วนอีลิสเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองพระเกียรติของเทพเจ้า

การเล่นกีฬาที่บันทึกเป็นประวัติศาสตร์สืบต่อกันมา คือ การเล่นกีฬา 5 ประเภท ได้แก่ การวิ่งแข่ง การกระโดด มวยปล้ำ พุ่งแหลน และขว้างจักร โดยผู้เล่นแต่ละคนจะต้องเล่นให้ครบทั้ง 5 ประเภท สังเกตได้ว่านอกจากมวยปล้ำแล้วอีก 4 ประเภท เป็นการเล่นกรีฑาทั้งสิ้นการเล่นกีฬาดังกล่าวได้ดำเนินมาเป็นเวลา 1200 ปี จนกระทั่งกรีกเสื่อมอำนาจลงและตกอยู่ภายใต้ อำนาจของชาวโรมัน การกีฬาของกรีกก็เสื่อมลงตามลำดับ ในค.ศ. 393 จักรพรรดิธีโอดซีอุส แห่งโรมันมีคำสั่งให้ยกเลิกการ เล่นกีฬา ทั้ง 5 ประเภท เพราะเห็นว่าการแข่งขันในตอนปลายก่อนที่จะยกเลิกไปนั้น มีจุดมุ่งหมายต่างไปจากเดิม โดยที่ผู้เล่นและผู้ชมหวังสินจ้างรางวัล มีการพนันเพื่อเงินทอง ไม่ใช่เล่นกีฬาเพื่อสุขภาพอย่างที่เคยปฏิบัติกันมา เป็นอันว่าโอลิมปิกสมัยโบราณได้ยุติลงตั้งแต่นั้นมาเป็นระยะเวลานาน 15 ศตวรรษ เป็นผลให้การเล่นกีฬาต้องหยุดชะงัก ไปด้วย

จนกระทั่ง โอลิมปิกสมัยใหม่ ได้เริ่มขึ้นอีกครั้งหลังจากโอลิมปิกสมัยโบราณยุติไป 15 ศตวรรษ ได้มีบุคคลสำคัญเป็นผู้ริเริ่มกีฬาโอลิมปิกให้กลับฟื้นคืนมาใหม่ท่านผู้นั้นคือ บารอน ปีแอร์เดอ คูแบร์แตง (BaronPierredeCoubertin) ชาวฝรั่งเศสเป็นผู้ชักชวนบุคคลสำคัญ ของชาติ ต่าง ๆ ให้เข้าร่วมประชุม ตกลง เปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกสมัยปัจจุบันขึ้นใหม่ โดยจัดให้มีการแข่งขัน 4 ปี ต่อ 1 ครั้ง
ในข้อตกลงให้บรรจุการเล่นกรีฑาเป็นกีฬาหลักของการแข่งขัน เพื่อเป็นเกียรติและเป็นอนุสรณ์ แก่ชนชาติกรีกที่เป็นผู้ริเริ่ม จึงลงมติเห็นชอบโดยพร้อมเพรียงกันให้ประเทศกรีกจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเป็นประเทศแรก ใน ค.ศ. 1896 (พ.ศ. 2439) ณ กรุงเอเธนส์

นอกจากนี้ยังมีนักวิชาการที่ได้ศึกษา ประวัติกรีฑา ไว้ดังนี้
- คุณสุภารัตน์ วรทอง (2537 : 1-4) ได้เรียบเรียงถึงประวัติและวิวัฒนาการของกรีฑาไว้เป็นลำดับ ตั้งแต่สมัยแรกถึงปัจจุบันไว้ว่า กรีฑานับว่าเป็นกีฬาที่เก่าแก่ที่สุดที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับมนุษย์เพราะในสมัยโบราณมนุษย์ต้องต่อสู้กับภัยธรรมชาติ และเผชิญกับความดุร้ายของสัตว์ป่านานาชนิด และต้องใช้ถ้ำเป็นที่อยู่อาศัย การที่มนุษย์ออกไปหาอาหารมาเลี้ยงชีพต้องป้องกันตนเองจากสัตว์ร้าย บางครั้งต้องวิ่งหนีอย่างรวดเร็วเพื่อหนีสัตว์ร้าย ถ้าเทียบกับปัจจุบัน ก็เป็นการวิ่งระยะสั้น หากวิ่งหนีหรือวิ่งไล่ติดตามจับสัตว์มาเป็นอาหาร โดยวิ่งเป็นเวลานาน ๆเทียบได้กับ การวิ่งระยะไกลหรือวิ่งทนนั่นเอง ในบางครั้งขณะที่วิ่ง เมื่อมีต้นไม้ กิ่งไม้หรือหินขวางหน้าก็ต้องกระโดดข้ามไป ปัจจุบันจึงกลายเป็นการวิ่งกระโดดข้ามรั้วและวิ่งกระโดดสูงการวิ่งกระโดดข้ามลำธารเล็กๆ แคบๆ เป็นช่วงติดต่อกัน ได้กลายมาเป็นการวิ่งกระโดดไกลและการเขย่งก้าวกระโดด แต่ถ้าลำธารหรือเหวนั้นกว้าง ไม่สามารถกระโดดอย่างธรรมดาได้ จำเป็นต้องหาไม้ยาวๆ มาปักกลางลำธารหรือแง่หินแล้วโหนตัวข้ามไปยังอีกฝั่งหนึ่งก็กลายมาเป็นการกระโดดค้ำ การใช้หอกหรือหลาวที่ทำด้วยไม้ยาวๆ เป็นอาวุธพุ่งฆ่าสัตว์ ปัจจุบันได้กลายมาเป็นพุ่งแหลน เป็นต้น
ประวัติกรีฑาไทย ประวัติความเป็นมาของกรีฑาไทย ประวัติกรีฑาในประเทศไทย
ประวัติกรีฑาไทย ความเป็นมากรีฑาไทย | สำหรับการแข่งขันกรีฑาในประเทศไทยนั้น กระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน) ได้จัดให้มีการแข่งขันกรีฑานักเรียนขึ้นเป็นครั้งแรก ในวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2440 ที่ท้องสนามหลวง ในพิธีเปิดการแข่งขันครั้งนั้น พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นประธานเปิดการแข่งขัน และทอดพระเนตรการแข่งขัน นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา กระทรวงธรรมการได้จัดให้มีการแข่งขันกรีฑานักเรียนประจำทุกปีตลอดมา
- ปี พ.ศ. 2476 รัฐบาลได้จัดตั้งกรมพลศึกษาขึ้น โดยมีนโยบายส่งเสริมการกีฬาของชาติให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น หลังจากก่อตั้งกรมพลศึกษาแล้ว กีฬาและกรีฑาก็ได้รับการสนับสนุนมากยิ่งขึ้น โดยจัดให้มีการแข่งขันกรีฑาระหว่างโรงเรียน ระหว่างมหาวิทยาลัย และกรีฑาประชาชน
- ปี พ.ศ. 2484 การแข่งขันกรีฑานักเรียนประจำปี ได้ย้ายมาแข่งขันในกรีฑาสถาน (สนามศุภชลาศัย) เป็นครั้งแรก โดยได้ปรับปรุงสนามและด้านอำนวยการแข่งขันให้เป็นไปตามกติกากรีฑาระหว่างประเทศมากที่สุด เช่น ใช้เครื่องวัดกำลังลม เครื่องตรวจทิศทางลมเครื่องกดนาฬิกาด้วยไฟฟ้า เปลี่ยนการแต่งกายเครื่องแบบของกรรมการตัดสินมาเป็นชุดขาวล้วนเริ่มมีการบันทึกและรับรองสถิติที่นักกีฬาทำขึ้นในสนามมาตรฐานแห่งนี้
- ปี พ.ศ. 2494 ได้มีการจัดตั้งสมาคมกรีฑาสมัครเล่นแห่งประเทศไทยขึ้น ซึ่งอยู่ในความอุปการะของกรมพลศึกษา มีหน้าที่รับผิดชอบแทนกรมพลศึกษาจัดดำเนินการแข่งขันกรีฑามหาวิทยาลัยและประชาชน และในปีเดียวกันนี้ประเทศไทยยังส่งนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 1 ที่กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย ต่อมาประเทศไทยยังได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ถึง 4 ครั้ง คือ เอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 5 ในปี พ.ศ. 2509 ครั้งที่ 6 ในปี พ.ศ. 2513 ครั้งที่ 8 ในปี พ.ศ. 2521 และครั้งที่ 13 ในปี พ.ศ. 2541
- ปี พ.ศ. 2495 ประเทศไทยได้ส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคเกมส์ เป็นครั้งแรก ในการแข่งขันโอลิมปิค ครั้งที่ 5 ณ กรุงเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ โดยมีนักกีฬากรีฑา เข้าร่วมการแข่งขัน 8 คน และเจ้าหน้าที่ 5 คน รวม 13 คน
- ปี พ.ศ. 2507 ได้จัดตั้งองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทยขึ้น มีหน้าที่รับผิดชอบในการส่งเสริมกีฬาประชาชน โดยจัดให้มีการแข่งขันกรีฑาและกีฬาต่างๆ เป็นประจำทุกปี ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่า “กีฬาชาติ” และถือว่ากรีฑาเป็นกีฬาหลักที่ต้องจัดให้มีการแข่งขันทุกครั้ง
- ปี พ.ศ. 2508 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ รับสมาคมกรีฑาสมัครเล่นแห่งประเทศไทย เข้าอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์
- ปี พ.ศ. 2510 องค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย ได้เริ่มจัดการแข่งขันกีฬาเขตขึ้น (กีฬาแห่งชาติ ในปัจจุบัน) มีการแข่งขันทุกปี หมุนเวียนไปตามจังหวัดต่างๆ เพื่อขยายการกีฬาให้ครอบคลุมทั่วทุกภาค และคัดเลือกนักกีฬาดีเด่นไว้แข่งขันกีฬาระหว่างชาติต่อไป
- ปี พ.ศ. 2528 เปลี่ยนชื่อจาก องค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย เป็น “การกีฬาแห่งประเทศไทย”
- ปี พ.ศ. 2540 การกีฬาแห่งประเทศไทย ได้ปรับปรุงรูปแบบการแข่งขันกีฬาแห่งชาติในระบบใหม่ เป็นการแข่งขันระดับตัวแทนจังหวัดสู่การเป็นตัวแทนระดับภาคโดยมีการจัดการแข่งขัน 2 ปีต่อครั้ง ระบบใหม่นี้เริ่มใช้ครั้งแรกในกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 32 ในปี พ.ศ. 2543 ที่กรุงเทพมหานคร

ความหมายของกรีฑา – ประวัติกรีฑา
กรีฑา (Athletics) หมายถึงเฉพาะรายการแข่งขันกีฬาที่เกี่ยวข้องกับการวิ่งแข่ง การกระโดด การขว้างและการเดิน ประเภทการแข่งขันกรีฑาที่พบแพร่หลายที่สุด คือ ลู่และลาน วิ่งทางเรียบ วิ่งวิบาก และเดินแข่ง ด้วยความเรียบง่ายของการแข่งขัน และไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ราคาแพง ทำให้กรีฑาเป็นหนึ่งในกีฬาที่มีการแข่งขันกันมากที่สุดในโลก
กรีฑา เป็นกีฬาที่เก่าแก่ที่สุดเกิดขึ้นมาพร้อมกับมนุษย์เพราะในสมัยโบราณมนุษย์ยังไม่รู้จักการทำมาหากินที่เป็นหลักแหล่งมักเร่ร่อนไม่มีเครื่องนุ่งห่มและที่อยู่อาศัยจึงต้องต่อสู้กับภัยธรรมชาติเผชิญกับความดุร้ายของสัตว์ป่าใช้ถ้ำเป็นอยู่อาศัย จึงกล่าวได้ว่ามนุษย์เป็นต้นกำเนิดของกรีฑา เพราะการที่มนุษย์ออกไปหาอาหารในการดำรงชีวิต บางครั้งต้องเดิน บางครั้งต้องวิ่งเพื่อความอยู่รอด เช่น อดีตใช้ก้อนหินขว้างปา หรือทุ่มใส่สัตว์ แต่ปัจจุบันกลายมาเป็นขว้างจักร ทุ่มลูกน้ำหนัก เป็นต้น

นอกจากนี้ ได้มีผู้รวบรวมความหมายของกรีฑาไว้ดังนี้
- ชุมพล ปานเกตุ (2531 : 1) ได้ให้ความหมายไว้ว่า กรีฑา หมายถึง กิจกรรมทางด้านร่างกายที่ประกอบด้วยการกระทำที่เป็นไปอย่างธรรมชาติของมนุษย์ ซึ่งได้แก่ การวิ่งกระโดดและการทุ่ม ขว้าง พุ่ง หรืออาจกล่าวได้ว่า การเล่นกรีฑานั้นเริ่มมีมาตั้งแต่มนุษย์ได้ถือกำเนิดขึ้นในโลก
- ชัยสิทธิ์ สุริยจันทร์, เพิ่มศักดิ์ สุริยจันทร์ และวัฒนา สุริยจันทร์ (2525 : 32) ได้ให้ความหมายของกรีฑาไว้ว่า กรีฑาแผนกลู่ คือ กรีฑาประเภทที่ต้องแข่งขันกับบนทางวิ่งและใช้การวิ่งเป็นส่วนสำคัญ ตัดสินกันด้วยเวลาและความเร็ว เช่น การวิ่งระยะต่างๆ กรีฑาแผนกลาน คือ กรีฑาประเภทที่ต้องประลองความไกลหรือความสูงบนลานกว้างๆ เช่นการกระโดด ทุ่ม พุ่ง ขว้าง เป็นต้น
- อุทัย สงวนพงศ์ (2533 : 4) ได้ให้ความหมายไว้ว่า กรีฑา หมายถึง กีฬาชนิดหนึ่งที่ประกอบด้วยการวิ่ง การกระโดด การพุ่ง การทุ่มและการขว้างฟอง เกิดแก้ว
- สวัสดิ์ ทรัพย์จำนง (2524 : 1) กล่าวว่า กรีฑา เป็นกีฬาชนิดหนึ่ง ซึ่งแยกการแข่งขันออกเป็นสองประเภท คือ ประเภทลู่และประเภทลาน จากที่กล่าวมาแล้วพอสรุปได้ว่า กรีฑา หมายถึง กีฬาชนิดหนึ่งซึ่งแยกการประลองออกเป็นแผนกลู่ที่ต้องแข่งขันบนทางวิ่ง และใช้การวิ่งเป็นส่วนสำคัญ ตัดสินกันด้วยเวลาและความเร็ว ส่วนแผนกลานประลองบนลานกว้างๆ ด้วยการกระโดด ทุ่ม พุ่ง และขว้างตัดสินกันด้วยระยะทางของความไกลหรือความสูง