เนื้อหา
รายวิชา: พ21104 พลศึกษา2
Login

Curriculum

พ21104 พลศึกษา2

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกรีฑา

0/4

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การอบอุ่นร่างกายและการคลายอุ่นร่างกาย

0/3

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 รูปแบบของการเคลื่อนไหว

0/1

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ทักษะการกระโดดไกล

0/2

หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 ทักษะการกระโดดสูง

0/2

หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 ทักษะการขว้างจักร

0/2

หน่วยการเรียนรู้ที่ 9 ทักษะการพุ่งแหลน

0/2

หน่วยการเรียนรู้ที่ 10 ทักษะการทุ่มน้ำหนัก

0/2

ใบงานความรู้หลังเรียน

0/1

แบบทดสอบหลังเรียน

0/1
บทเรียน

ความรู้เพิ่มเติม

ประโยชน์ของกรีฑา – ประวัติกรีฑา

การเล่นกรีฑาเหมือนกับการเล่นกีฬาชนิดอื่น ๆ ที่ผู้เล่นจะได้รับประโยชน์จากการเล่น ดังนี้

มีอารมณ์ร่าเริง แจ่มใส กล้ามเนื้อสมบูรณ์แข็งแรง รูปร่างได้สัดส่วน มีบุคลิภาพที่ดี ร่างกายแข็งแรง มีความต้านทานโรคดี เป็นวิธีช่วยลดไขมันในร่างกายได้ดีวิธีหนึ่ง ระบบประสาททำงานดีขึ้น ทำให้นอนหลับสนิท ระบบการหายใจดีขึ้น ทรวงอกมีการขยายตัวมากขึ้น ระบบย่อยอาหาร และระบบการขับถ่ายทำงานได้ดีขึ้น ร่างกายมีความอดทนต่อการทำงาน ทำให้เหนื่อยช้าและหายเหนื่อยเร็วขึ้นเส้นเลือดขยายตัวส่งผลให้การไหลเวียนเลือดดี ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ

กรีฑา

มารยาทที่ดีในการเล่นและชมกรีฑา

กรีฑาเหมือนกับกีฬาชนิดอื่นๆตรงที่ ผู้เล่นต้องมีมารยาทในการเล่น และผู้ชมต้องมีมารยาทในการชม เช่นเดียวกันนอกจากทำให้การแข่งขันดำเนินไปด้วยดีแล้ว ยังเป็นการปลูกฝังคุณธรรม ให้กับผู้เล่น และผู้ชมสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการดำรงชีวิตในสังคมได้เป็นอย่างดี ผู้เล่นและผู้ชมกรีฑาที่ดีจึงควรปฏิบัติตน ดังนี้

1) มารยาทของผู้เล่นที่ดี ควรปฏิบัติดังนี้
แต่งกายด้วยชุดที่เหมาะสมกับการล่นกรีฑา มีกิริยาวาจาสุภาพเรียบร้อย มีใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือเพื่อนร่วมทีมและผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม เคารพเชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสั่งของผู้สอน เคารพเชื่อฟังคำตัดสินของกรรมการผู้ตัดสินตลอดเวลา ปฏิบัติตามกฎ กติกาอย่างเคร่งครัด ไม่แสดงกิริยาอาการไม่พอใจ หากเพื่อนร่วมทีมเล่นผิดพลาด เมื่อชนะหรือแพ้ไม่ควรแสดงความดีใจหรือเสียใจจนเกินไป ก่อนและหลังการแข่งขันควรแสดงความเป็นมิตรกับผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามด้วยการทักทายหรือจับมือแสดงความยินดี ไม่ควรยืมอุปกรณ์การเล่นของคนอื่นมาใช้ฝึกซ้อม

กรีฑาทีมชาติไทยชาย

2) มารยาทของผู้ชมที่ดี ควรปฏิบัติดังนี้
ไม่กล่าวถ้อยคำหรือแสดงกิริยาเยาะเย้ยถากถางผู้เล่นที่เล่นผิดพลาด แสดงความยินดีกับผู้เล่นที่เล่นดี เช่น การปรบมือ เป็นต้น ไม่กระทำตัวเป็นผู้ตัดสินเสียเอง เช่น ตะโกนแย้งคำตัดสิน เป็นต้น

ไม่เชียร์ในสิ่งที่เป็นการส่อเสียดในทางไม่ดีต่อผู้เล่นฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ไม่กระทำสิ่งใด ๆ ที่ทำให้ผู้ติดสินหรือเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ปฏิบัติงานไม่สะดวก ไม่กระทำสิ่งใด ๆ อันเป็นการกีดขวางการเล่นของผู้เล่น กระทำตนให้เป็นประโยชน์