เนื้อหา
รายวิชา: พ21104 พลศึกษา2
Login

Curriculum

พ21104 พลศึกษา2

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกรีฑา

0/4

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การอบอุ่นร่างกายและการคลายอุ่นร่างกาย

0/3

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 รูปแบบของการเคลื่อนไหว

0/1

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ทักษะการกระโดดไกล

0/2

หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 ทักษะการกระโดดสูง

0/2

หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 ทักษะการขว้างจักร

0/2

หน่วยการเรียนรู้ที่ 9 ทักษะการพุ่งแหลน

0/2

หน่วยการเรียนรู้ที่ 10 ทักษะการทุ่มน้ำหนัก

0/2

ใบงานความรู้หลังเรียน

0/1

แบบทดสอบหลังเรียน

0/1
บทเรียน

ทักษะการกระโดดไกล

ประวัติการแข่งขันกระโดดไกล

                   กระโดดไกล เป็นหนึ่งในกีฬาที่ถูกบรรจุอยู่ในกีฬาโอลิมปิกส์ จัดอยู่ในกลุ่มกรีฑา ประเภทลาน กติกากระโดดไกล ตัดสินผลแพ้ชนะกันที่นักกีฬาคนใดกระโดดได้ไกลมากกว่ากัน ถือเป็นกีฬาที่ต้องใช้ทักษะความชำนาญส่วนตัว ความคล่องตัว และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเป็นพิเศษ ที่สำคัญจะต้องมีปฏิภาณไหวพริบดีเยี่ยม เนื่องจากต้องมีการกะระยะ และกะจังหวะเวลากระโดดให้ออกไปได้ไกลมากที่สุด ดังนั้น นักกีฬาจะต้องผ่านการฝึกฝนทั้งร่ายกายและเทคนิคมาเป็นอย่างดี รวมทั้งมีความเข้าใจใน กติกา กระโดดไกล โอลิมปิก ด้วย ถึงจะก้าวไปสู่เส้นทางการเป็นนักกีฬามืออาชีพได้

 

ประวัติความเป็นมาของ กติกากระโดดไกล

กติกากระโดดไกล ถูกบรรจุเข้าเป็นหนึ่งในกีฬาประเภทกรีฑาที่มีการแข่งขันตั้งแต่สมัยโอลิมปิกโบราณ

เมื่อปี ค.ศ.1896 เดิมทีมีแต่นักกีฬาผู้ชายเท่านั้น พอมาในปี ค.ศ.1948 จึงเริ่มมีการบรรจุนักกีฬาผู้หญิงเข้าแข่งขันด้วย โดยจุดเริ่มต้นของ กระโดดไกล ป ระวัติ มาจากการสู้รบของทหารในยุคโบราณ เพราะท่าทางในขณะการต่อสู้จะมีการ กระโดดไกล เป็นหนึ่งในทักษะสำคัญของการสู้รบ เพื่อให้สามารถเอาชีวิติรอดในสนามรบจากการเข่นฆ่าของอริราชศัตรูได้ ภายหลังจึงบูรณาการนำเอารูปแบบของการกระโดดไกลมาพัฒนาให้เป็นกีฬาที่ได้รับการยอมรับในสากลโลก

 

 

กติกากระโดดไกล

กติกา กระโดดไกล ที่ใช้สำหรับการแข่งขันกีฬา โอลิมปิก ที่ทั่วโลกยึดถือปฏิบัติกันมา มีดังนี้ทางสำหรับวิ่งก่อนออกตัว จะต้องมีขนาดความกว้าง 22 เมตร และความยาว 40 เมตรกระดานสำหรับใช้ในการกระโดดจะทาด้วยสีขาวในช่วงจังหวะการออกตัวกระโดดนั้น นักกีฬาจะต้องเหยียบไม่เกินความยาวของกระดานสำหรับเริ่มกระโดด เพราะถ้าหากพบว่าเป็นรอยจะถือว่าผิดกติกา (ฟาวล์) ในรอบนั้นทันทีหลุมทราย ที่ใช้สำหรับ กระโดดไกล ควรมีระยะห่างของกระดานสำหรับเริ่มกระโดดและจุดสิ้นสุดอย่างน้อยประมาณ 10 เมตร และมีความกว้างอย่างน้อยประมาณ 75 เมตร ในกรณีที่มีนักกีฬาน้อยกว่า 8 คน ให้แข่งขันทีละคน โดยแต่ละคนจะกระโดดได้ 6 ครั้ง แต่ถ้ามีนักกีฬามากกว่า 8 คน จะให้แข่งขันทีละคน โดยแต่ละคนนั้นจะกระโดดได้เพียง 3 ครั้งในส่วนของการวัดระยะทางการกระโดดนั้น จะเริ่มวัดจากรอยที่ปรากฏบนหลุมทรายตรงส่วนที่อยู่บริเวณใกล้กับกระดานสำหรับเริ่มกระโดดมากที่สุด ระยะเวลามาตรฐานสำหรับนักกีฬา 1 คน จะมีรอบระยะเวลาสำหรับการแข่งขัน ประมาณ 30 นาที

กรีฑาประเภทกระโดดมีทั้งหมด 4 ประเภท ประกอบด้วย การกระโดดไกล การเขย่งก้าวกระโดด การกระโดดสูง และการกระโดดค้ำ เป็นประเภทการแข่งขันที่วัดความสามารถของนักกีฬาว่าสามารถกระโดดไปได้ไกลแค่ไหนในแนวนอนหรือกระโดดได้สูงแค่ไหนในแนวดิ่งซึ่งทั้ง 4 ประเภท อาจจะมีความแตกต่างกันออกไปในลักษณะเฉพาะของเทคนิคและองค์ประกอบที่ใช้ในการแข่งขัน แต่โดยทั่วไปแล้วลักษณะพื้นฐานการเคลื่อนไหวของการกระโดดทั้ง4 ประเภทนั้น ไม่แตกต่างกัน ซึ่งถ้าหากผู้ฝึกสอนเข้าใจหลักพื้นฐานของการเคลื่อนไหวเบื้องต้นก็สามารถที่จะนำไปใช้สอนนักกีฬาได้โดยง่าย

องค์ประกอบการเคลื่อนไหว

ทักษะในการกระโดดไกล การกระโดดไกลมีหลายแบบ มีการใช้ทักษะต่าง ๆ ในการกระโดดไกลเพื่อให้นักกรีฑา สามารถกระโดดได้ระยะทางไกลที่สุด แต่ไม่ว่าจะกระโดดด้วยท่าใดก็ตามจะมีลำดับขั้นตอนในการ ปฏิบัติเหมือนกันโดยรวม ดังนี้

1. การวิ่งก่อนกระโดด

2. การกระโดดขึ้นจากพื้น

3. การลอยตัวในอากาศ

4. การลงสู่พื้น

ทักษะทั้งหมดนี้ ทักษะที่สำคัญอันดับ 1 ได้แก่ กระโดดขึ้นจากพื้น (Take off) ส่วนทักษะ อื่นๆ มีความสำคัญเท่าๆกัน ลำดับขั้นตอนในการกระโดดไกล มีดังนี้ 1. การวิ่งก่อนกระโดด การวิ่งก่อนกระโดดเริ่มตั้งแต่ก่อนออกวิ่งจนกระทั่งวิ่งไปเหยียบกระดานเริ่ม หรือกระดาน กระโดด ท่าเตรียมพร้อมก่อนวิ่งไม่มีกฎกติกากำหนดให้นักกรีฑาต้องยืนในลักษณะใด ดังนั้นลักษณะ ท่าทางจึงอยู่ในท่าที่สบาย ตามรูปแบบที่ถนัดหรือฝึกฝนมา เช่น อาจยืนเท้าใดเท้าหนึ่งอยู่ข้างหน้าอีก เท้าหนึ่ง โน้มตัวไปข้างหน้าเล็กน้อยยกมือข้างที่อยู่ตรงข้ามกับเท้าที่อยู่หน้าขึ้นระดับหน้าผาก ส่วนมือ อีกข้างหนึ่งยกไปข้างหลังระดับเอวงอศอกขึ้นข้างหลังเล็กน้อย เป็นต้น เพื่อให้มีกำลังในการกระโดด มากขึ้นมีการทรงตัวที่ดี มีจังหวะและความแม่นยำในการเหยียบกระดานเริ่มได้อย่างถูกต้อง จึงควร กำหนดช่วงระยะทางและอัตราความเร็วในการวิ่ง โดยทั่วไปนิยมแบ่งเป็น 3 ช่วงคือ

ช่วงที่ 1 จากจุดเริ่มต้นไปประมาณ 4 เมตร ใช้ความเร็วในการวิ่ง 21% ของความเร็วสูงสุด

ช่วงที่ 2 ต่อจากช่วงแรกไปอีกประมาณ 6 เมตร ใช้ความเร็วในการวิ่ง 43 % ของความเร็ว สูงสุด

ช่วงที่ 3 ระยะทางต่อจากช่วงที่ 2 จนถึงกระดานเริ่มใช้ความเร็วประมาณ 95 100 % ของ ความเร็วสูงสุด

2. การกระโดดขึ้นจากพื้น เท้าจะเหยียบกระดานเริ่มพอดี จากความเร็วที่วิ่งมาสัมพันธ์กับแรงกระแทกของฝ่าเท้า แรง เหวี่ยงของแขนทั้งสองและขาขวาจะเตะนำไปข้างหน้ากระโดดลอยตัวขึ้นไปข้างหน้าด้วยกำลังส่งของขาและปลายเท้าซ้ายขณะที่ลอยตัวขึ้นพยายามให้ตัวตั้งตรง เมื่อกระโดดลอยขึ้นเกือบถึงจุดสูงสุดแล้ว จึงเคลื่อนไหวในอากาศเพื่อให้เกิดแรงส่งอีกต่อไป ซึ่งเป็นขั้นตอนของการลอยตัวในอากาศ

3. การลอยตัวในอากาศ

การลอยตัวในอากาศ นักกรีฑาจะต้องเคลื่อนไหวร่างกายให้ได้ระยะทางไกลด้วยทักษะของ การกระโดดท่าต่าง ๆ ความสูงของการกระโดดจะอยู่ในตำแหน่งประมาณครึ่งหนึ่งของระยะทาง มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ13 ทั้งหมดของความไกลที่จะกระโดดได้ การเคลื่อนไหวขณะลอยตัวในอากาศมีอีกหลายแบบ เช่น  แบบงอเข่าลอยตัว แบบแอ่นตัว แบบก้าวขาในอากาศ เป็นต้น ในเอกสารประกอบการเรียนการสอนนี้ อธิบายเฉพาะแบบงอเข่าลอยตัวและแบบแอ่นตัว ซึ่ง เป็นท่าที่เหมาะในการฝึกทักษะพื้นฐานและสำหรับนักเรียนการลอยตัวในอากาศ มีวิธีการปฏิบัติ ดังนี้

1. แบบงอเข่าลอยตัวมีวิธีปฏิบัติ ดังนี้ลำตัวยังคงรักษามุมที่เอนไปข้างหน้าไว้คงเดิมและขา ขวาเข่าจะงอและยกขึ้นไว้จนหน้าขาท่อนบนขนานพื้นเมื่อถีบเท้าซ้ายขึ้นจากพื้นแล้วจะกระตุกเข่า ขึ้นมาข้างหน้ารวบชิดกับขาขวา

2. แบบแอ่นตัว มีวิธีปฏิบัติ ดังนี้ในขณะที่เท้าทั้งสองพ้นจากพื้น แขนทั้งสองเหวี่ยงขึ้นเหนือ ศีรษะอยู่ในลักษณะแอ่นตัวไปข้างหน้าอย่างเต็มที่ หน้าเงยขึ้น

3. เมื่อลอยตัวอยู่ในอากาศจนแรงส่งจาก การขึ้นจากกระดานเริ่มลดความเร็วลง ให้เหวี่ยงแขนทั้งสองไปข้างหน้าพร้อมกับเหวี่ยงเท้าทั้งสองไป ข้างหน้าด้วย

4. การลงสู่พื้น การลงสู่พื้น ขณะลอยตัวในอากาศ จะลงสู่พื้น ให้รวบแขนและขาไปข้างหน้าเหยียดขา และ งอขาเมื่อลงสู่พื้น เมื่อลงสู่พื้น ให้หย่อนสะโพกลงไปที่เท้า(เสมา ศิริอำพันธ์, 2551) การกระโดดไกลแบบต่าง ๆ ทักษะการกระโดดไกลมีหลายแบบ ขึ้นอยู่กับสภาพของร่างกาย ความถนัดของนักกรีฑา ท่าที่ เหมาะในการฝึกทักษะพื้นฐาน และปฏิบัติได้ง่ายเหมาะสำหรับนักเรียนได้แก่ ท่ากระโดดแบบงอเข่า ลอยตัว และท่าที่มีทักษะในการปฏิบัติสูงขึ้น ซึ่งนักเรียนสามารถพัฒนาได้ คือท่ากระโดดไกลแบบแอ่น ตัว มีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้ การกระโดดไกลแบบงอเข่าลอยตัว การกระโดดไกลแบบงอเข่าลอยตัว เป็นท่าพื้นฐานของการฝึกทักษะที่สูงขึ้นโดยทั่วไปมีวิธีการปฏิบัติ ดังนี้ 1. การขึ้นจากกระดานเริ่ม ในลักษณะเตะขาขวาเข่างอนำและส่งตัวขึ้นจากพื้นด้วยขาซ้ายนี้ ลำตัวจะเอนไปข้างหน้าทำมุมกับพื้นราว 7580 องศา ส่วนแขนจะเหวี่ยงไปข้างหน้าให้สัมพันธ์กับขา ตามองไปข้างหน้า 2. การลอยตัวในอากาศ ลำตัวยังคงรักษามุมที่เอนไปข้างหน้าไว้คงเดิมและขาขวา เข่าจะงอ และยกขึ้นไว้จนหน้าขาท่อนบนขนานพื้น เมื่อถีบเท้าซ้ายขึ้นจากพื้นแล้วจะกระตุกเข่าขึ้นมาข้างหน้า รวบชิดกับขาขวา 3. การลงสู่พื้น ขณะที่ลำตัวเริ่มท ามุมตกลงสู่พื้น พยายามเหยียดปลายขาทั้งสองข้างไป ข้างหน้าให้มากที่สุด ทันทีที่เท้าทั้งสองสัมผัสพื้นทรายให้งอเข่ากับศีรษะและลำตัวไปข้างหน้า และ แขนทั้งสองข้างเหยียดไปข้างหน้า 

สื่อ/เอกสารประกอบการสอน