เนื้อหา
รายวิชา: พ21104 พลศึกษา2
Login

Curriculum

พ21104 พลศึกษา2

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกรีฑา

0/4

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การอบอุ่นร่างกายและการคลายอุ่นร่างกาย

0/3

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 รูปแบบของการเคลื่อนไหว

0/1

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ทักษะการกระโดดไกล

0/2

หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 ทักษะการกระโดดสูง

0/2

หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 ทักษะการขว้างจักร

0/2

หน่วยการเรียนรู้ที่ 9 ทักษะการพุ่งแหลน

0/2

หน่วยการเรียนรู้ที่ 10 ทักษะการทุ่มน้ำหนัก

0/2

ใบงานความรู้หลังเรียน

0/1

แบบทดสอบหลังเรียน

0/1
บทเรียน

ประเภทของกรีฑา

ประเภทของกรีฑา

ประเภทของการแข่งขันกรีฑา

กรีฑาถือเป็นกีฬาพื้นฐานในการสร้างสมรรถภาพทางด้านร่างกาย และเป็นกีฬาหลักที่นิยมเล่นและแข่งขันทั้งในและระหว่างประเทศ จากรายละเอียดกติกากรีฑาของสหพันธ์กรีฑาสมัครเล่นนานาชาติ สามารถแบ่งประเภทของกรีฑา ได้เป็น 5 ประเภท ดังนี้

  1. กรีฑาประเภทลู่ (Track Events)
  2. กรีฑาประเภทลาน (Field Events)
  3. กรีฑาประเภทเดิน (Walking Events)
  4. กรีฑาประเภทถนน (Road Races)
  5. กรีฑาประเภทวิ่งข้ามทุ่ง (Cross Country Races)

ประวัติกีฬาวิ่งแข่ง

1. กรีฑาประเภทลู่  (Track Events)

กรีฑาประเภทลู่ ประกอบด้วยการวิ่งในลู่วิ่ง ซึ่งการวิ่งระยะสั้น การวิ่งผลัด และการวิ่งข้ามรั้วแต่ละรายการมีจุดเด่นที่แตกต่างกันออกไป โดยการวิ่งระยะสั้นให้ความตื่นเต้น สนุกสนาน การวิ่งผลัดแสดงให้เห็นถึงการประสานงานกันเป็นทีม การวิ่งข้ามรั้วเป็นความสัมพันธ์ระหว่างการวิ่งและการกระโดดแต่การที่บุคคลหนึ่งจะทำการแข่งขัน กรีฑาประเภทลู่ได้ จำเป็นต้องมีทักษะเฉพาะตัวเบื้องต้น ต้องใช้ความอดทนในการฝึกซ้อมที่ถูกวิธี และสิ่งสำคัญต้องมีใจรักในการวิ่งด้วย

กรีฑาประเภทลู่สามารถแบ่งการแข่งขันได้ ดังนี้

1.1 การวิ่งระยะสั้น ประกอบด้วยการวิ่งระยะทาง 60, 80, 100, 200 และ 400 เมตร
1.2 การวิ่งระยะกลาง ประกอบด้วยการวิ่งระยะทาง 800 เมตร 1,500 เมตรและ 3,000 เมตร
1.3 การวิ่งระยะไกล ประกอบด้วยการวิ่งระยะทางตั้งแต่ 5,000 เมตร ขึ้นไป
1.4 การวิ่งผลัด ประกอบด้วยการวิ่งผลัด 4 x 100 เมตร วิ่งผลัด 4 x 400 เมตร
1.5 การวิ่งข้ามรั้ว ประเภทหญิงระยะทาง 100 เมตร 400 เมตร ประเภทชายระยะทาง 110 เมตร 400 เมตร

ความเป็นมากีฬากรีฑา

2. กรีฑาประเภทลาน (Field Events)

กรีฑาประเภทลาน ประกอบด้วยการวิ่งกระโดดไกล การวิ่งกระโดดสูง การทุ่มน้ำหนัก การขว้างจักร และการพุ่งแหลน แต่ละประเภทต้องอาศัยทักษะที่แตกต่างกัน โดยการวิ่งกระโดดไกล ระบบการทำงานของร่างกายระหว่างประสาทและกล้ามเนื้อต้องมีความสัมพันธ์กัน จะช่วยให้สามารถบังคับส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างนิ่มนวลและถูกต้องตามจังหวะที่ต้องการ การวิ่งกระโดดสูงต้องรู้จักจังหวะการกระโดด การสปริงตัวขึ้น การลอยตัวในอากาศ และการลงสู่พื้นได้อย่างปลอดภัย การทุ่มลูกน้ำหนักต้องรู้จักการทรงตัว การกระโดดได้อย่างคล่องแคล่วว่องไว และการใช้แรงส่งลูกน้ำหนักให้ไปไกลที่สุด การขว้างจักรต้องอาศัยการเหวี่ยงตัว และจังหวะที่ดีในการเหวี่ยงจักร รวมทั้งต้องมีความรวดเร็วว่องไว ประสาทและทักษะในการเคลื่อนไหวดี การพุ่งปล่อยแหลนออกไปในท่าที่ถูกต้องรู้จักจังหวะการวิ่ง การบังคับแหลนควรเรียนรู้ทำความเข้าใจ และฝึกปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ

กรีฑาประเภทลานสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ประเภทละ 4 รายการ ดังนี้

2.1 ประเภทกระโดด (Jumping Events)
2.1.1 กระโดดสูง (High Jump)
2.1.2 กระโดดไกล (Long Jump)
2.1.3 เขย่งก้าวกระโดด (Triple Jump)
2.1.4 กระโดดค้ำ (Pole Vault)
2.2 ประเภทขว้าง (Throwing Events)
2.2.1 ทุ่มลูกน้ำหนัก (Putting The Shot)
2.2.2 ขว้างจักร (Discus)
2.2.3 พุ่งแหลน (Javelin)
2.2.4 ขว้างค้อน (Hammer)

athletics history

3. กรีฑาประเภทเดิน (Walking Events)

กรีฑาประเภทเดินเป็นการแข่งขันที่ต้องใช้ทักษะการเดิน ซึ่งสามารถจัดการแข่งขันได้ทั้งภายในสนามและบนถนน ประกอบด้วยการแข่งขันเดินภายในสนาม ระยะทาง 10,000 เมตร และ 20,000 เมตร ส่วนการแข่งขันเดินบนถนน ระยะทาง 20 กิโลเมตร และ 50 กิโลเมตร

4. กรีฑาประเภทถนน (Road Races)

เป็นการแข่งขันวิ่งบนถนน เส้นเริ่มและเส้นชัยอาจอยู่ในสนามกรีฑาก็ได้ มีระยะทาง มาตรฐานในการจัดการแข่งขันสำหรับชายและหญิง ดังนี้

4.1 วิ่ง 15 กิโลเมตร
4.2 วิ่ง 20 กิโลเมตร
4.3 วิ่งครึ่งมาราธอน (Half Marathon) 25 กิโลเมตรและ 30 กิโลเมตร
4.4 วิ่งมาราธอน (Marathon) 42.195 กิโลเมตรและ 100 กิโลเมตร

แข่งกรีฑา ไตรกีฬา

5. กรีฑาประเภทวิ่งข้ามทุ่ง (Cross Country Races)

กรีฑาประเภทวิ่งข้ามทุ่ง เป็นการวิ่งที่มักจัดขึ้นในสวนสาธารณะขนาดใหญ่ หรือ นอกเมือง เส้นทางวิ่งจะเป็นสนามหญ้า เนินเขา ทางเดิน หรือทุ่งนาที่ไถแล้ว นักวิ่งอาจจะพบสิ่งกีดขวางต่างๆ ในธรรมชาติ ซึ่งในระดับนานาชาติมีการจัดการแข่งขัน ดังนี้

5.1 ประเภททีม แบ่งรายการแข่งขันเป็น ชาย ระยะทาง 12 กิโลเมตร เยาวชนชาย ระยะทาง 8 กิโลเมตร หญิง ระยะทาง 6 กิโลเมตร เยาวชนหญิง ระยะทาง 4 กิโลเมตร
5.2 การวิ่งขึ้นเขาเป็นส่วนใหญ่ ทั่วไปชาย ระยะทาง 12 กิโลเมตร ระดับความสูง 1,200 เมตร ทั่วไปหญิง ระยะทาง 7 กิโลเมตร ระดับความสูง 550 เมตร เยาวชนชาย ระยะทาง 7 กิโลเมตร ระดับความสูง 550 เมตร

ถ้าจุดปล่อยตัวและเส้นชัยอยู่ในระดับเดียวกัน ทั่วไปชาย ระยะทาง 12 กิโลเมตร ระดับความสูง 700 เมตร ทั่วไปหญิง ระยะทาง 7 กิโลเมตร ระดับความสูง 400 เมตร เยาวชนชาย ระยะทาง 7 กิโลเมตร ระดับความสูง 400 เมตร

นอกจากการแข่งขันประเภทลู่และลานแล้ว ยังมีการแข่งขันประเภทรวมชายและรวมหญิง ซึ่งผู้เล่นคนหนึ่งๆ ต้องแข่งขันทั้งประเภทลู่และลาน มีการแข่งขัน ดังต่อไปนี้

ทศกรีฑา เป็นการแข่งขันประเภทรวมชาย ประกอบด้วยการแข่งขัน 10 ประเภท ซึ่งต้องทำการแข่งขัน 2 วัน ติดต่อกันเรียงตามลำดับ ดังนี้
วันแรก
– วิ่ง 100 เมตร
– กระโดดไกล
– ทุ่มลูกน้ำหนัก
– กระโดดสูง
– วิ่ง 400 เมตร
วันที่สอง
– วิ่งข้ามรั้ว 110 เมตร
– ขว้างจักร
– กระโดดค้ำ
– พุ่งแหลน
– วิ่ง 1,500 เมตร

สัตตกรีฑา เป็นการแข่งขันประเภทรวมหญิง มีการแข่งขันทั้งหมด 7 ประเภท แข่งขัน 2 วัน ติดต่อกัน ตามลำดับดังนี้
วันแรก
– วิ่งข้ามรั้ว 100 เมตร
– กระโดดสูง
– ทุ่มลูกน้ำหนัก
– วิ่ง 200 เมตร
วันที่สอง
– กระโดดไกล
– พุ่งแหลน
– วิ่ง 800 เมตร

สื่อ/เอกสารประกอบการสอน